นายอินทปัตร บุญทวี
ปลัดเทศบาล 053-489406-7 ต่อ 31
ข้อมูลตำบลแม่วาง
น้ำต้น สล่าแดง
- 9 พฤษภาคม 2564
- อ่าน 2,149 ครั้ง
แหล่งเรียนรู้อารยธรรมเครื่องปั้นดินเผ่า และประติมากรรม ที่โดดเด่นที่สุดในพื้นที่ของเทศบาลตำบลแม่วาง คงไม่พ้น น้ำต้น ที่เป็นเครื่องปั้นดินเผ่าของสล่าแดง ที่เป็นที่รู้จักไม่ใช่แค่คนในชุมชน แต่ยังรวมไปถึงบุคคลภายนอก นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ทั่วประเทศที่สนใจในเรื่องของศิลปะโดยเฉพาะศิลปะแบบล้านนา
สล่าแดง เป็นผู้ที่กำเนิดที่หมู่บ้านน้ำต้นซึ่งในอดีตนั้นหมู่บ้านแห่งนี้ได้อาชีพปั้นน้ำต้น และ การปั้นผางประติ๊ด (ประทีบที่ชาวพุทธใช้จุดเพื่อเป็นพุทธบูชา) เป็นอาชีพหลักคู่กับการทำเกษตรกรรม จากการได้เห็นและซึมซับการทำน้ำต้นมาตั้งแต่เด็ก และอาศัยเป็นคนช่างสังเกต จึงจดจำเทคนิคด้านการปั้นจากพ่ออุ้ย แม่อุ้ย ในหมู่บ้าน เป็นการฝึกทักษะฝึกฝนงานปั้นมาตั้งแต่วัยเยาว์
เมื่อปีพ.ศ. 2545 สล่าแดงได้เริ่มรื้อฟื้นการทำน้ำต้นรูปแบบต่าง ๆ ตามแหล่งที่ค้นพบ ได้ออกเดินทางไปยังแหล่งผลิตน้ำต้นต่าง ๆ ทั่วภาคเหนือ และประเทศเพื่อนบ้าน มีผลงานวิจัยชื่อ ?น้ำต้น? อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอนุภาคลุ่มน้ำโขง เมื่อปีพ.ศ. 2557
จากการค้นคว้าวิจัยน้ำต้นโบราณรูปทรงต่าง ๆ จึงเกิดความรู้สึกกังวลว่าน้ำต้นรูปแบบต่าง ๆ เหล่านั้น จะเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงเกิดแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทำน้ำต้นตามแบบโบราณ โดยขั้นตอนการทำนั้น ยังคงอนุรักษ์การทำแบบดั้งเดิมใว้ทั้งหมด (ไม่มีเครื่องจักรใด ๆ ในขั้นตอนการผลิต) และมีการต่อยอดออกแบบน้ำต้นเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ลงรักปิดทอง วาดลายไทย ลงบนน้ำต้น ประยุกต์เป็นเครื่องใช้ในบ้าน เช่น โคมไฟ เป็นต้น
ปัจจุบันได้เปิดบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์น้ำต้นสล่าแดง และศูนย์เรียนรู้สาธิตการทำน้ำต้นทุกขั้นตอน ให้แกผู้ที่สนใจ น้อง ๆ เยาวชน ทุกเพศทุกวัย เข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านการปั้นน้ำต้นตามแบบโบราณ และจัดอบรมความรู้ให้เด็ก(ค่ายเยาวชนลุ่มน้ำวาง) เป็นประจำทุก ๆ ปี