นายอินทปัตร บุญทวี
ปลัดเทศบาล 053-489406-7 ต่อ 31
ข้อมูลตำบลแม่วาง
ประเพณี "ปอยออกหว่า"
- 8 มกราคม 2564
- อ่าน 494 ครั้ง
เทศบาลตำบลแม่วาง สนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นงานปอยออกหว่า หรืองานออกพรรษา ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้ได้อย่างเหนียวแน่นคำว่า ?ปอย? เป็นภาษาเหนือหมายถึง ?งานบุญ? ส่วนคำว่าออกหว่านั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึง ?ระหว่างออกพรรษา? เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันจึงหมายความถึงงานบุญที่จัดขึ้นระหว่างออกพรรษานั่นเองชาวไทยใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับงานปอยออกหว่านี้ว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่บนสรวงสวรรค์ และทรงเสด็จลงโปรดสัตว์ให้สรรพสิ่งในโลกมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ในโบราณคดี เช่น นกและสิงโต รวมไปถึงสัตว์อื่น ๆอีกมากมาย และในคืนแรม1ค่ำสัตว์เหล่านี้จะพากันออกมาฟ้อนรำ เปรียบเสมือนเป็นการคารวะและแสดงความยินดีที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลงมาเทศนาเพื่อโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ จากอดีตจนถึงปัจจุบันชาวไทยใหญ่ยังคงมีความเชื่อในตำนานนี้และได้สมมุตติให้มีการแสดงเลียนแบบสัตว์ต่าง ๆในวรรณคดี เช่น ฟ้อนกิ่งกาหล่า ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบนกยูง โดยใช้ผู้แสดงที่เป็นผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่น่าสนใจคือการเต้นโต โดยใช้ผู้แสดงเป็นผู้ชายงานปอยออกหว่าหลักๆแล้วจะมีงานอยู่ทั้งสิ้น3วันด้วยกัน วันแรกนั้นแต่ละบ้านจะตระเตรียม ข้าวของที่จะมาทำบุญและของกินของใช้ระหว่างที่มาทำบุญที่วัด วันที่สองจะถือได้ว่าเป็นงานบุญ ตั้งแต่เช้าจะมีการทำบุญต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธและความเชื่อตามท้องถิ่น และวันสุดท้ายซึ่งเป็นคืนแรม1ค่ำ จะมีพิธีแห่ต้นเทียนหรือเรียกอีกชื่อว่าต้นเกี๊ยะ เนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม้เกี๊ยะคือเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง โดยจัดให้มีการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆมากมายท่ามกลางแสงสว่างของต้นเกี๊ยะ ชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจะมาร่ายรำกันตามวิถีวัฒนธรรมประเพณีที่ดูสวยงาม เทศบาลตำบลแม่วางได้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นนี้ จึงได้ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชน วัด ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันดำเนินการจัดโครงการประเพณีปอยออกหว่าขึ้น
โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา 50 (๘) บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ตลอดจนพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา 16(๑๑) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและร่วมกันอนุรักษ์สืบสานให้ดำรงคงอยู่สืบต่อไป